ในหลายบทความที่ผ่านมา คุณน่าจะรู้จักเครื่องพิมพ์วันที่แบบผลิตระบบ TIJ ไปในระดับนึงแล้ว แต่วันนี้เราจะมาเจาะลึกกลไกการทำงานของเครื่องพิมพ์วันหมดอายุระบบ TIJ กันเพื่อที่คุณจะได้รู้และเข้าใจเครื่องมือการทำงานของคุณให้มากกว่าเดิม
เริ่มจากการกล่าวถึงเทคโนโลยี Thermal Inkjet ที่ได้วางโครงสร้างการทำงานไว้แบบ Integrated Cycle Technology Program ซึ่งคือการใช้ตัวต้านทานฟิล์มชนิดบางมาทำให้อุณหภูมิของหมึกมีการขยับเพื่อก่อให้เกิดฟองและในบริเวณที่เกิดการปล่อยหมึกจะมีการสร้างฟองอากาศควบคู่ไปด้วยเพื่อที่จะบีบอัดหยดหมึกให้ออกมาจากหัวพิมพ์ ซึ่งจะมีความแตกต่างจากเทคโนโลยี Piezoelectric Inkjet ตรงกระบวนการสร้างฟองอากาศ เนื่องจากจะต้องอาศัยพื้นที่ในการปล่อยหมึกมากกว่าและยังต้องมีการควบคุมด้วยการใช้แรงดันไฟฟ้าอีกด้วย
ในแง่ของการพิมพ์รูปภาพด้วยเครื่องพิมพ์วันที่ผลิตระบบ TIJ จะมีกระบวนการที่ซับซ้อนหลายขั้นตอนโดยจะใช้หัวพิมพ์ที่มีจำนวนมากกว่า 48 หัวพิมพ์ในการพ่นหมึกออกมาเป็นจุดเล็กๆเพื่อสร้างพิกเซลของภาพให้เป็นสีต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วยิ่งมีจำนวนหัวฉีดมาก ยิ่งทำให้ความเร็วในการพิมพ์สูงขึ้น ส่วนวิธีการผสมสีของหยดหมึก จากเท่าที่ได้ทำการสำรวจจะเห็นว่าในแต่ละพิกเซลจะมีหมึกอยู่ที่ 0-4 หยดซึ่งจำการผสมสีออกมาได้แตกต่างกันมากถึง 10 สี
ด้วยเทคโนโลยีของระบบ Thermal Inkjet ทำให้เหมาะแก่การใช้งานกับหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เช่นกัน อีกทั้งยังมีจุดเด่นในการพิมพ์ได้กับหลากหลายวัสดุจึงทำให้ผู้ประกอบการหลายคนเริ่มหันมาใช้เครื่องพิมพ์วันที่ผลิตระบบ TIJ
อย่างไรก็ตามในฐานะที่เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการจัดจำหน่ายเครื่องพิมพ์วันที่ผลิต เราจึงอยากจะแชร์วิธีการทำงานเบื้องต้นของเครื่องพิมพ์วันที่ผลิตระบบ TIJ ให้ฟังกัน หากใครสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ DOCOD ยินดีให้บริการครับ
https://www.facebook.com/photo/?fbid=412460301373570&set=a.168688042417465